วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ผลกระทบต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านลบ

                              ผลกระทบ… : ปัญหาเด็กติดเกม ♥`

                             ชื่อข่าว… : ปัญหาเด็กติดเกม วิธีสังเกต ป้องกันและแก้ไข



ติดเกมส์” คือพฤติกรรมที่ถูกพูดถึงบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในหมู่วัยรุ่นและเด็กที่มีพฤติกรรมติดเกมส์จนเกิดเป็นปัญหาต่างๆตามมา ดังข่าวต่างๆที่หลายคนเคยเห็น ซึ่งในปัจจุบันก็มีเกมส์ต่างๆมากมายที่พร้อมกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น ทั้งเกมส์ออนไลน์ ออฟไลน์ ซึ่งคงยากหากเราจะห้ามเด็กไม่ให้สัมผัสกับสิ่งเหล่านี้ แล้วผู้ปกครองจะมีวิธีสังเกตพฤติกรรม และแก้ปัญหาการติดเกมส์นี้ได้อย่างไร?



Jitrin
นพ. จิตริน ใจดี
จิตแพทย์ประจำศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพ
โรงพยาบาลกรุงเทพ
นพ. จิตริน ใจดี จิตแพทย์ประจำศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ ได้บอกถึงพฤติกรรมการติดเกมว่า โดยธรรมชาติของเกมนั้นมักจะออกแบบมาเพื่อสนองความต้องการของผู้เล่นอยู่แล้ว คือ มักจะให้มีการผ่านด่านเป็นขั้นๆขึ้นไปเรื่อยๆและจะได้รับรางวัลทันทีเมื่อทำภารกิจของเกมสำเร็จ จนทำให้ผู้เล่นรู้สึกว่าสิ่งที่ตนกำลังเล่นอยู่นั้นมีความก้าวหน้าและพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ในเมื่อความต้องการของตนเองได้รับการตอบสนองอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นผู้เล่นก็เลยอยากที่จะเล่นเกมต่อไปโดยไม่อยากหยุด จนอาจเกิด “ ภาวะติดเกม ” ขึ้นได้ ซึ่งทำให้ส่งผลเสียตามมาได้หลายประการ เช่น

ข้อเสียของการติดเกม

ต่อตนเอง

ร่างกาย : ทำให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดหัว อ่อนเพลีย
พัฒนาการ(ในเด็ก) : พัฒนาการที่ดีนั้นต้องอาศัยปัจจัยกระตุ้นหรือปัจจัยส่งเสริมในหลายๆ ด้าน เช่น โภชนาการ การเล่น การมีปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การออกกำลังกาย โดยที่การเล่นเกมแต่เพียงอย่างเดียวจะทำให้ได้สิ่งเหล่านี้ไม่ครบและส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการของเด็กได้
จิตใจ: ในเด็กอาจเกิดพฤติกรรมเลียนแบบขึ้นได้ และอาจมีอารมณ์หงุดหงิด มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง หรือไม่พอใจหากไม่ได้เล่นเกมตามที่ตนต้องการ

ต่อครอบครัว : อาจก่อให้เกิดปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว การปฏิสัมพันธ์ในครอบครัวลดน้อยลงทำให้เกิดความเหินห่าง
ต่อสังคม : ส่งผลกระทบต่อการเรียนและการทำงาน
ส่วนสำคัญที่สุดในการป้องกันปัญหาเด็กติดเกม คือ การตั้งกติกาก่อนเล่นเกมครั้งแรก คือ ก่อนที่จะซื้อเกมหรืออนุญาตให้เด็กเล่นเกมครั้งแรก ควรตั้งกติกากันก่อนว่าจะให้เล่นได้กี่ชั่วโมง หรือ จะให้เล่นได้เฉพาะในวันไหนบ้าง เพราะการมาตั้งกติกากันทีหลังเมื่อเด็กติดเกมไปแล้วเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก

อย่างไรก็ตามหากเด็กหรือผู้ปกครองรู้จักเลือกประเภทและแบ่งเวลาในการเล่นเกมให้เหมาะสม ก็อาจจะได้รับประโยชน์อยู่บ้าง เช่น ได้รับความสนุกเพลิดเพลิน ได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ได้ช่วยในเรื่องการวางแผน หรือส่งเสริมทักษะด้านภาษา แต่ผู้ปกครองหรือผู้เล่นเกมก็ควรตระหนักอยู่เสมอว่า ทักษะต่างๆเหล่านี้ก็สามารถที่จะได้รับการพัฒนาโดยวิธีอื่นๆ อีก เช่น กิจกรรมสันทนาการ กีฬา ดนตรี เป็นต้น

นอกจากนี้ผู้ปกครองก็ต้องคอยดูแลและสังเกตพฤติกรรมการเล่นเกมของเด็กว่าเริ่มเล่นเกมมากเกินไปจนเกิดการติดแล้วหรือยัง เพื่อที่จะช่วยเหลือและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก่อนเกิดปัญหาหรือผลเสียที่กล่าวไป

วิธีการสังเกตพฤติกรรมการติดเกม

1.หมกมุ่นอยู่กับการเล่นเกมมากเกินไป ไม่สามารถควบคุมตัวเองให้เล่นในเวลาที่กำหนด
2.ใช้เวลาในการเล่นนานขึ้นเรื่อยๆ
3.เมื่อถูกบังคับให้หยุดเล่น จะมีพฤติกรรมต่อต้าน
4.ส่งผลต่อหน้าที่ ความรับผิดชอบ การเรียน / ทำงาน
5.แยกตัวออกจากสังคม ไม่ค่อยทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว

วิธีช่วยเหลือเด็กติดเกม


    1.ผู้ช่วยเหลือควรจะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กก่อนเริ่มการปรับพฤติกรรม 

    2.วิธีที่ดีที่สุด คือ การตกลงกติกากันให้ชัดเจนก่อนอนุญาตให้เด็กเล่นเกม 

    3.ควรเอาจริงเอาจังกับข้อตกลงหรือกติกาที่ได้ตั้งไว้ 

    4.สร้างแรงจูงใจในการเลิกให้กับเด็ก เช่น หากกำลังปรับลดชั่วโมงการเล่นเกม ก็ควรหากิจกรรมที่น่าสนใจมาทดแทนการเล่นเกมทันที และถ้าเด็กทำได้ก็ควรชม /ให้กำลังใจ หรือให้รางวัล 

    5.ค่อยๆปรับพฤติกรรมทีละน้อย แบบค่อยเป็นค่อยไป แต่สม่ำเสมอ 

    6.หากมีข้อสงสัยควรขอคำแนะนำจากจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น หรือศึกษาเพิ่มเติมจาก Website เช่นhttp://www.healthygamer.net/ 

    7.ปัญหาเด็กติดเกมนั้นสามารถป้องกันและแก้ไขได้ซึ่งผู้ปกครองต้องใช้ความเข้าใจและความอดทน โดยไม่ว่าเด็กจะใช้เทคโนโลยีอะไรก็ควรให้คำแนะนำและดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะนอกจากเทคโนโลยีจะมีประโยชน์แล้ว หากใช้ไม่เหมาะสม ก็ให้โทษได้เช่นกัน




อ้างอิง : https://www.it24hrs.com/2014/problem-of-game/


ความคิดเห็น♥` : เห็นด้วยกับแนวคิดการแก้ไขปัญหาดังกล่าวและจะให้ความร่วมมือกับผู้ที่ต้องการได้รับข่าวสารหรือต้องการได้รับการแก้ปัญหาเด็กติดเกม